วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการไถกลบ ต้น ใบ และส่วนต่างๆของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ในระยะช่วงออกดอก ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารสูงสุด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสน อินเดีย ปอเทือง อัญชัน ไมยราพไร้หนาม

ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด

  1. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
  2. เพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
  3. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด ช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แก่พืชได้มากยิ่งขึ้น
  4. บำรุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  5. รักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
  6. ทำให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
  7. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
  8. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน
  9. ลดอัตราการสูญเสียดินอันเกิดจากการชะล้าง
  10. เพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น


วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด

วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด สามารถแบ่งการใช้ได้ 3 วิธี คือ
  1. ปลูกพืชสด ในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วทำการตัดสับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลย
  2. ปลูกพืชสดแซมในระหว่างร่องพืชหลักที่ทำการปลูก โดยปลูกพืชสดหลังจากพืชหลักเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
  3. ปลูกพืชสดในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า แล้วตัดสับเอาส่วนของพืชสดนำมาใส่ในแปลงที่จะปลูกพืชหลักแล้วไถกลบลงไปในดิน

การตัดสับและไถกลบพืชสด

การตัดสับและการไถกลบพืชสดนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชสดเป็นสำคัญ ระยะเวลาที่เหมาะสม ในการตัดสับ และไถกลบ ควรทำขณะที่ต้นถั่ว เริ่มออกดอกไปจนถึงระยะดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด เมื่อไถกลบแล้วจะทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูง ด้วย



ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ วิธีทําปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ 
จากการที่ คุณอภิชาติ ดิลกโสภณ ได้ “เก็บเอามาเล่า” นั้น  ผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้เกิดผลสำเร็จคือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ         ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการ ตามแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนในภาคการผลิตและอุตสาหกรม ดังนั้น   การรู้จักวิธีใช้ การปรับใช้ให้เข้าใจ     ย่อมเกิดประโยชน์มหาศาล ขอเพียงมีความขยันหมั่นเพียร      อดทนตั้งใจจริง ไม่พึ่งพาสารเคมี     จะนำมา ซึ่งสภาพชีวิตที่ดี     สังคมและประเทศชาติก็ย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอน

ทุก วันนี้กระแสและความตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ   ซึ่งมีความ สำคัญอย่างยิ่งกำลังมาแรง ทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย    จึงหันมาใช้กรรมวิธีแบบเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติ กันแล้วอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย      เนื่องจากใช้สารเคมีมานาน ๆนับสิบ ๆ ปี ทำให้จุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่อยู่ในดินและบนดินตายไปหมด  เราต้องช่วยกันคืนจุลินทรีย์กลับบ้าน    ซึ่งจะทำให้ดินที่เป็นรากฐานของชีวิตกลับเป็น “ดินมีชีวิต” อีกครั้ง เพื่อผลิตพืชผลปลอดภัย เลี้ยงมนุษยชาติต่อไป

         การใช้เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรชีวภาพ หรือเกษตรธรรมชาติในเมืองไทย     ขณะนี้มีอยู่หลายรูปแบบ หลายวิธี อาทิ การใช้ผักมาหมักกับกากน้ำตาล ได้น้ำสกัดชีวภาพ บางคนใช้สารเร่ง ซึ่งมีตั้งแต่   พด. 1 ถึง พด. 9 ของกรมพัฒนาที่ดินบางคนใช้ปุ๋ยสำเร็จรูปอัลจินัว      ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางคนใช้แค่มูลสัตว์เท่านั้น เป็นต้น  ซึ่งแต่ละวิธีใช้เวลา ต้นทุน และกรรมวิธีแตกต่างกันไป

         ในที่นี้ขอแนะนำการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ   เพื่อ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้เกษตรกร         และผู้สนใจนำไป ใช้เพราะราคาถูก ทำได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา ปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์จากหลาย สถาบัน   ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ได้ดี  ไม่มีอันตรายกับคนหรือสัตว์ และเมื่อเรารู้จักการใช้จุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพดีพอจะสามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

1. ปุ๋ยชีวภาพ อีเอ็ม (EM) คืออะไร
                EMย่อมาจาก Efective Microorganisms  หมาย ถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวความคิดเรื่อง “ดินมีชีวิต” ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของ โลก จากนั้น ดร.อิหงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลปรากฏว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณ ประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
    1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10%
    2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10%
    3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80%จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
          ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีจำนวนมากกว่า  ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลัง ขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป

 

ปุ๋ยชีวภาพ จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
  1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Gacteria )
  2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
                จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้
                จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มี ประโยชน์ต่อพืช สัตย์ และสิ่งแวดล้อมารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
                กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
                กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
                กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Aynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน  ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
                กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กระดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน (Hormones)   วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
                กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids)  มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็น จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใน ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้ หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้ เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันแม่แห่งชาติ

ประวัติวันแม่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ
   แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายน
ของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศ
รับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้ พิจารณา
เห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง
สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มา
ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมา
นั้นได้รับความสำเร็จ ด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่าย ของงานให้กว้างขวางออกไป

   มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญ
วันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนัก
ในความ สำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่
ให้ยิ่ง ๆขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปี
ของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล
ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ

   ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวัน
เสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


หญิงคนหนึ่ง คนที่เรา เรียกว่าแม่
หญิงคนที่ รักเราแท้ ไม่แปรผัน
หญิงคนที่ รักเรา เท่าชีวัน
หญิงคนนั้น ให้เราเกิด กำเนิดมา

หญิงคนนี้ ที่เราควร จะกราบไหว้
หญิงคนที่ เราทั้งหลาย ควรฝันหา
หญิงคนนั้น คนที่เรา เรียกมารดา
หญิงคนที่ เสียน้ำตา ตอนคลอดเรา

วันเราเกิด หญิงคนนี้ ที่ต้องเจ็บ
วันเราเจ็บ เขายิ่งเจ็บ กว่าหลายเท่า
วันเราสุข หญิงคนนี้ สุขกว่าเรา
วันเขาเศร้า แล้วเราไป อยู่ไหนกัน

คิดบ้างเถิด ลูกทุกคน จงได้คิด
คิดบ้างเถิด ใครที่ผิด ที่แปรผัน
คิดบ้างเถิด เราหรือเขา ที่ลืมกัน
คิดบ้างเถิด ใครลืมวัน ที่ผ่านมา

เราต่างหาก ที่มัวเมา จนลืมคิด
เราต่างหาก เราที่ผิด ไม่ไปหา
เราต่างหาก ที่ไม่เคย มีเวลา
เราต่างหาก ที่มันบ้า หลงลืมตัว

กลับไปเถิด กลับไป เยี่ยมแม่บ้าง
อย่าให้ท่าน ต้องอ้างว้าง ใจสลัว
อย่าหลงไฟ หลงแสงสี จนลืมตัว
อย่าเมามัว จนลืมแม่ ผู้รักเรา....

บูรณาการ เรื่องข้าว

 เมื่อเอาข้าวเปลือกไปสีในโรงสี เพื่อกะเทาะเอาเปลือกออกและขัดเมล็ด ก็จะได้เป็นเมล็ดข้าวสีขาว ซึ่งเรียกว่า "ข้าวสาร"    คนก็จะเอาข้าวสารไปหุงต้ม เพื่อรับประทานเป็นอาหาร ข้าวสารที่หุงสุกแล้วนี้เรายังเรียกว่า "ข้าว" ข้าวที่นิยมบริโภคมีสองชนิด คือ ข้าวจ้าวและข้าวเหนียว


สมุนไพรไทยน่ารู้

กะทือ
กะทือเป็นพืชล้มลุก ฤดูแล้งจะลงหัว เมื่อถึงฤดูฝนจะงอกใหม่ หัวมีขนาดใหญ่ และมีเนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ต้นสูง 3-6 ศอก ใบยาวเรียวออกตรงข้าม ดอกเป็น ช่อรูปกระบองโบราณ อัดกันแน่นสีแดง ซึ่งเป็นส่วนของใบประดับ มีดอกสีเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก บานครั้งละ 1-2 ดอก ปลูกโดยใช้หัว ขึ้นได้ทั่วไป
ใช้หัวประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและ ขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดมวนแน่น แก้บิด บำรุงน้ำนม